วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทฤษฎีจิตสังคม (Erikson) ขั้นที่ 3 และ ขั้น 4

ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสัน เรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจาก การสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเด็กที่ยังพยายามที่จะเป็นอิสระ พึ่งตนเอง อยากจะทำอะไรเองไม่พึ่งผู้ใหญ่ เป็นวัยที่เด็กจะเลียนแบบจากผู้ใหญ่ ทั้งด้านการพูดและการกระทำ อิริคสันอธิบายการรู้สึกผิด (Guilt) เหมือนกับฟรอยด์ คือเน้น Resolution ของ Oedipal Complex ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ดังนั้นเด็กชายในวัยนี้ต้องการทำอะไรเหมือนพ่อ เด็กหญิงอยากจะทำอะไรเหมือนแม่ เด็กบางคนอาจจะทำงานช้า เสร็จช้าแต่เมื่อเสร็จแล้วก็เป็นสิ่งที่สมบูรณ์เรียบร้อยและถูกต้อง เด็กบางคนอาจจะเรียนไม่เก่ง แต่เล่นกีฬาเก่ง เป็นต้นการช่วยเหลือแบบนี้ก็จะช่วยทำให้เด็กไม่มีปมด้อย และมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ไม่เกลียดตนเองและไม่มีปมด้อย


ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority) อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6 - 12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง หรืออยู่เฉยๆ แม้ว่าเด็กที่เจริญเติบโตในวัฒธรรมที่ไม่มีการศึกษาในโรงเรียนทั่วโลกก็จะพบว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่จะเริ่มฝึกหัดอาชีพ ตัวอย่างเช่น พวกเอสกิโมจะไปตกปลา สำหรับวัฒนธรรมที่จะไปล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีวิต ก็จะหัดทำลูกศรเพื่อไปยิงสัตว์ สำหรับสังคมที่มีการศึกษาในโรงเรียน เด็กก็จะอยู่ในโรงเรียน เรียนหัดอ่าน หัดเขียน และคิดเลข เด็กวัยนี้มักจะภูมิใจว่าทำอะไรได้ จะขยันและจะใช้ความพยามยามอย่างมาก ผู้ใหญ่จะต้องพยามยามช่วยให้เด็กได้รับสัมฤทธิผล ให้เขารู้ว่าเขามีความสามารถ เพื่อจะให้มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองของเขาเอง (positive self-concept) เด็กวัยนี้จะต้องมีประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เขาคิดว่าคนเราเก่งมีความสามารถทำอะไรก็ทำได้เพื่อจะไม่ให้เกิดปมด้อยอย่างเดียว แต่เด็กก็อาจจะติเตียนกันเอง เปรียบเทียบความสามารถกันเสมอ ครูและบิดามารดามีส่วนช่วยให้เด็กที่โชคไม่ดี ที่ทำงานช้า สู้คนอื่นไม่ได้ โดยพยายามหาสิ่งที่เด็กคนนั้นทำได้ดีกว่าคนอื่นและนอกจากชี้ให้เขาเห็นความสามารถพิเศษของเขา และประกาศให้คนอื่นเห็นด้วย เช่น เด็กบางคนอาจจะทำงานช้า เสร็จช้า แต่เมื่อเสร็จแล้วเป็นผลงานที่มีความสมบูรณ์ เด็กบางคนเรียนไม่เก่ง แต่ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้มือได้ดี หรือเล่นกีฬาเก่ง การช่วยเหลือแบบนี้ก็จะช่วยทำให้เด็กไม่มีปมด้อยและมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง